UFABETWINS สุดท้ายแล้วถ้าฟุตบอลไม่สามารถกลับมาเตะกันได้ แต่ละลีกคงจะมีทางออกที่เตรียมเอาไว้แล้ว
บางลีกอาจยึดตามอันดับปัจจุบัน บางลีกอาจให้ฤดูกาลเป็นโมฆะ
บางลีกอาจมีสูตรคำนวนคะแนนเฉลี่ยต่อนัด หรือมีการหาค่าดรรชนีผลงานอย่างละเอียดแล้วนำมาใช้ ‘ทำนาย’ ผลการแข่งขันทุกเกมที่เหลือ
ลีกดัตช์มีทางออกของเขา ลีกเอิงฝรั่งเศสล่าสุดก็มีทางออกของตัวเองเช่นกัน แต่เกิดขึ้นบนเงื่อนไขอย่างเดียวกันคือฤดูกาล 2019/20 นั้นแข่งไม่จบ
หรือบางลีกอาจจะขอแช่แข็งการแข่งขันเอาไว้ก่อน แล้วเมื่อไหร่ที่ฟุตบอลพร้อมกลับมาเตะตามปกติ ก็จะไล่ฟาดแข้งกันให้ได้บทสรุปโดยเร็ว
ในกรณีหลัง อาจจะแยกวิธีการออกไปได้อีก บางลีกอาจจะเตะให้ครบทุกเกม ส่วนบางลีกอาจจะเลือกเตะแค่ทีมในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เป็นการเพลย์ออฟ

ลดจำนวนเกมลง แต่ได้บทสรุปของฤดูกาล ทว่าข้อนี้อาจจะติดปัญหาเรื่องค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่จ่ายกันเต็ม 380 แมตช์ต่อฤดูกาล
ถ้าหายไป 80 เกม 50 เกม 20 เกมจะมีการคำนวนความเสียหายอย่างไร แล้วอีกอย่างการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดนั้นขายไปแล้วทั่วโลก ผู้ซื้อลิขสิทธิ์ของประเทศนี้อาจจะคุยง่ายยอมลดค่าชดเชยให้ฝ่ายละครึ่ง แต่ประเทศนู้นและประเทศนั้นอาจจะคุยยากไม่ยอมลดราวาศอกให้เลยสักเพนนีก็ได้
นั่นคือปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาสำหรับการเตะแบบไม่ครบจำนวนแมตช์ มันจึงเป็นที่มาว่าเพราะอะไรแต่ละลีกถึงพยายามอย่างยิ่งที่จะกลับมาทำการแข่งขันให้จบทุกเกมให้ได้
ปัญหาก็คือในบางครั้งมันอาจจะล้ำเส้นเกินไปจนลืมคำนึงถึงความเหมาะสม การเตะแบบปิดสนามที่คิดๆ กันไว้และตั้งใจจะทำให้ได้มันอาจเป็นการมองข้ามความปลอดภัยของนักกีฬาโดยไม่ทันรู้ตัวก็ได้
ถ้าคุณจะเตะแบบปิดสนาม คุณต้องทำทุกอย่างให้อยู่ในระบบปิดจริงๆ
14 วันก่อนเตะแมตช์แรก คุณต้องแน่ใจว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโปรเจ็กต์ปิดสนามเตะจะต้องปลอดจากเชื้อโควิด-19
ทุกคนที่ว่านั้นหมายความถึง “ทุกคน” จริงๆ ไม่ใช่แค่เฉพาะนักฟุตบอล แต่ยังรวมถึงสตาฟฟ์โค้ช กรรมการ หน่วยพยาบาล ทีมถ่ายทอดสดที่มีทั้งโปรดิวเซอร์ ฝ่ายเทคนิค ช่างภาพตามจุดต่างๆ เด็กเก็บบอล พ่อบ้านแม่บ้านประจำสนาม ฯลฯ
พรีเมียร์ลีกลองคำนวนคร่าวๆ จำนวนคนตรงนี้น่าจะอยู่ที่ราวสองร้อยหกสิบคนต่อหนึ่งแมตช์
แล้วมันก็ไม่เพียงเท่านั้นด้วย จำนวนคนที่เกี่ยวข้องยังไล่เรื่อยไปจนถึงคนขับรถบัสรับส่งนักกีฬาและพนักงานในโรงแรมที่นักกีฬาพักอีก ทั้งพนักงานต้อนรับ บริกร พ่อครัว ฯลฯ
ทุกคนต้องเข้าสู่ระบบปิดคือห้ามออกไปเจอความเสี่ยงทุกกรณี ห้ามกลับบ้าน ห้ามเจอครอบครัว ห้ามเจอคนนอก ต้องพักในโรงแรมหรือสถานที่ที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น

ทีมพยาบาล ทีมถ่ายทอดสด ช่างเทคนิค ช่างภาพเด็กเก็บบอล พ่อบ้านแม่บ้านประจำสนาม พนักงานต้อนรับ บริกร พ่อครัว ทั้งหลายเหล่านั้นต้องอยู่ในระบบ ห้ามกลับบ้าน ห้ามพบผู้คนด้วย
ระยะเวลาก็แล้วแต่กำหนด สามสัปดาห์ หนึ่งเดือน ห้าสัปดาห์ หกสัปดาห์ก็ว่ากันไป แต่ถ้าจะแข่งกันแบบปิดสนามมันก็ต้องอยู่ภายใต้มาตรการเข้มงวดเรื่องระบบปิดแบบนี้
แล้วจำนวนแมตช์ที่เหลือคือกี่แมตช์ แล้วจำนวนวันที่ต้องใช้มีกี่วัน จำนวนคนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจะมีกี่คน
ถ้าต้องแลกมาด้วยการติดเชื้อโควิด-19 ของ ลิโอเนล เมสซี่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ โมฮาเหม็ด ซาลาห์ มันจะคุ้มไหม
ไม่ต้องถึงกับเป็นซูเปอร์สตาร์เหล่านั้นก็ได้ หากมันเกิดขึ้นกับใครสักคนแล้วทำให้เขาไม่สามารถกลับมาเล่นฟุตบอลได้เต็มที่เหมือนเดิมอีก มันคุ้มค่ากันไหมกับความเสี่ยงในชีวิตนักฟุตบอลอาชีพ
เพราะฉะนั้นเตะปิดสนามไม่มีคนดูนั้นแม้จะฟังดูเป็นไปได้แต่ก็เป็นเรื่องยุ่งยากมากที่จะทำ อย่าลืมว่าเราไม่ได้พูดกันถึงแค่ 20 ทีมในพรีเมียร์ลีก แต่มันยังมีอีก 24 ทีมในลีกแชมเปี้ยนชิพ ลีกวัน และลีกทู ซึ่งเป็นลีกอาชีพในอังกฤษ ยังไม่รวมถึงลีกอื่นๆ ของชาติอื่นๆ
โดยหลักการแล้วมันสามารถแข่งได้ครับ แต่ในทางปฏิบัตินั้นต้องใช้ความระวังและตื่นตัวขั้นสูงสุดจริงๆ

ผมจึงยังไม่เห็นด้วยกับทางออกแบบปิดสนามเตะเพราะคิดว่ามันยังเป็นการเอาอาชีพนักฟุตบอลของแต่ละคนไปสู่ความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสก็ยืนยันเรื่องนี้เช่นกันในการสั่งห้ามมีกิจกรรมทางกีฬาไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งรวมถึงความพยายามทำการแข่งขันแบบไม่มีคนดูด้วย
ทางออกในความคิดของผมวันนี้ยังเหมือนเดิมที่เคยเขียนเอาไว้ นั่นคือแช่แข็งไปก่อนเลย ไม่ต้องซ้อมเรียกความฟิตอะไรกันแล้ว ตีเสียว่าช่วงนี้คือช่วงปิดฤดูกาลไปเลย
แยกย้ายกันไปเก็บตัวอยู่บ้าน แล้วถึงวันที่ทุกอย่างพร้อม สภาพแวดล้อมพร้อมค่อยกลับมารวมตัวเตะในเกมที่เหลืออยู่ของฤดูกาล 2019/20
เตะจบเมื่อไหร่ก็พักแค่ 1-2 สัปดาห์แล้วเริ่มฤดูกาล 2020/21 ต่อทันที
ความคิดของผมยังคงเป็นเหมือนเดิม อยากเห็นทางออกแบบนี้
ปัญหาก็คือระยะเวลาของฤดูกาล 2020/21 ที่เราคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเหลืออยู่มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าจะเตะฤดูกาล 2019/20 ให้เต็มแต่ไปริดเกมของซีซั่น 2020/21 ออกมันก็จะวนกลับไปสู่ปัญหาเดิมคือสัญญาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่คิดกันตามจำนวนแมตช์แบบเต็มพิกัด 380 เกมไปแล้ว
นั่นคือความลำบากของการตัดสินใจของฝ่ายต่างๆ ซึ่งรวมถึงสโมสรที่รับส่วนแบ่งสัญญาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกันไปแล้ว
ผมคิดว่าลีกต่างๆ และสโมสรทั้งหลายอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกบีบให้ต้องจบฤดูกาล 2019/20 โดยที่เตะไม่ครบจำนวนแมตช์
จำเป็นต้องยอมวุ่นวายแก้ปัญหาเรื่องค่าลิขสิทธิ์ในภายหลังเนื่องจากไม่คุ้มที่จะเสี่ยงทำการแข่งขันต่อจริงๆ อย่างที่เวลานี้ลีกใหญ่ทั้งฮอลแลนด์และฝรั่งเศสก็ยอมแข่งกันไม่จบไปแล้ว

ผมไม่ฟันธงว่าจะเป็นอย่างไร แค่มองว่าลีกอื่นๆ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นเหมือนกันและถ้าต้องตัดจบจริงๆ แต่ละลีกก็คงมีทางออกสู่บทสรุปของตัวเองว่าตำแหน่งแชมป์ พื้นที่ยุโรป เลื่อนชั้น/ตกชั้น จะมีวิธีตัดสินอย่างไร
เราเริ่มได้เห็นสูตรต่างๆ ออกมากันแล้ว เพื่อให้มีบทสรุปให้ยูฟ่าหรือฟีฟ่าว่าลีกข้าใครเป็นแชมป์ ใครเลื่อนชั้น ใครตกชั้น
ในความคิดของผม ถ้าฤดูกาลไม่สามารถเตะจบ 38 นัดได้จริงๆ ผมอยากเห็นการเพลย์ออฟของทีมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ต่างๆ
ไม่ต้องรีบเตะก็ได้ รอทุกอย่างพร้อมค่อยกลับมาเตะกัน ใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ก็น่าจะเช็กบิลได้เบ็ดเสร็จ
ในการเพลย์ออฟก็ควรจะมี “แต้มต่อ” ให้กับทีมที่สะสมผลงานมาดีกว่าด้วย ดูกันง่ายที่สุดก็แค่เช็กจากตารางอันดับ
ถ้าอันดับ 3 ต้องมาเตะเพลย์ออฟกับอันดับ 8 ทีมอันดับ 3 ก็ต้องมีความได้เปรียบ ถ้าเป็นกฎที่ลีกอังกฤษใช้กันคือเตะเหย้าเยือนโดยทีมอันดับดีกว่าจะได้เป็นเจ้าบ้านนัดที่สอง
มันออกจะจั๊กจี้ไปหน่อยล่ะครับเพราะแทบมองไม่เห็นความแตกต่างเท่าไหร่
กติกาเพลย์ของแต่ละที่ก็ต่างกันไป ลีกนี้ใช้แบบนั้น ลีกนั้นใช้แบบนี้
เพลย์ออฟแบบที่ผมชอบไม่แน่ใจว่าเป็นเพลย์ออฟแบบญี่ปุ่นหรือเปล่า คือเตะแค่เกมเดียวในบ้านของทีมที่อันดับดีกว่า และหากผลจบลงด้วยการเสมอ ทีมที่อันดับดีกว่าจะได้เข้ารอบ

นี่สิอันดับในลีกถึงจะมีผลจริงๆ
ทีนี้คิดเพิ่มเติมขึ้นไปอีก แต้มที่ทิ้งห่างก็มีความหมายไม่น้อย อย่างกรณีของลิเวอร์พูลที่นำห่างแมนฯ ซิตี้ 25 แต้ม ถ้าต้องเตะเพลย์ออฟวัดแชมป์แม้จะได้เล่นในบ้านด้วยเงื่อนไขเสมอถือว่าชนะ ก็ยังดูไม่ยุติธรรมเท่าไหร่อยู่ดี
ลีกล่างของอิตาลีเคยมีกติกาสำหรับโควต้าเลื่อนชั้นว่าถ้าอันดับสามมีคะแนนทิ้งห่างอันดับสี่มากกว่า 10 คะแนนก็ไม่ต้องมีเกมเพลย์ออฟ ให้ยกประโยชน์ให้ทีมนั้นได้เลื่อนชั้นตามแชมป์กับรองแชมป์เซเรีย บีไปเลย ผมจำได้เพราะนาโปลีเคยเลื่อนชั้นเพราะเงื่อนไขนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าทุกวันนี้ยังมีกติกาข้อนี้อยู่ไหม
ถ้าจะให้น้ำหนักไม่เพียงอันดับบนตารางแต่ละเอียดไปถึงความห่างของคะแนนที่ทิ้งกันด้วย คุณอาจต้องแปลงมูลค่าของคะแนนออกมาเป็นประตู
ทิ้งห่าง 3 คะแนนคิดเป็น 1 ประตู
ทิ้งห่าง 5 คะแนนคิดเป็น 1 ประตู
ทิ้งห่าง 8 คะแนนคิดเป็น 1 ประตู
หรือทิ้งห่าง 12 คะแนนคิดเป็น 1 ประตู
อัตราส่วนไหนเหมาะสมที่สุดผมไม่รู้เหมือนกันครับ แต่ถ้าฝ่ายจัดการแข่งขันและทุกๆ สโมสรร่วมกันหารือกติกาข้อนี้ร่วมกันจริงๆ ผมคิดว่ามันจะมีคำตอบที่ถูกต้อง
สมมติว่าเรากำหนดให้การทิ้งห่างทุกๆ 8 คะแนนเป็น 1 ประตู
เกมเพลย์ออฟแย่งแชมป์พรีเมียร์ลีกระหว่างลิเวอร์พูลกับแมนฯ ซิตี้ จะเริ่มต้นด้วยสกอร์ 3-0 ของหงส์แดงในแอนฟิลด์ ถ้าสกอร์จบ 3-3 ลิเวอร์พูลก็จะยังเป็นแชมป์ แต่ถ้าเรือใบซัลโว 4 ประตูรวดพิชิต 4-3 ก็จะได้ฉลองแชมป์แทน
หรือเกมเพลย์ออฟหนีตกชั้น จะตีกรอบไว้แค่ 6 ทีมจับคู่เตะ อันดับ 15 เจออันดับ 20 อันดับ 16 เจออันดับ 19 และอันดับ 17 เจออันดับ 18 ก็ได้ หรือจะออกแบบให้ซับซ้อนขึ้นดึงอันดับ 12-14 เข้ามาเอี่ยวด้วยก็ได้
ถ้านอริชอันดับสุดท้ายมีอยู่ 21 คะแนน ต้องไปเยือนเอฟเวอร์ตันอันดับ 12 ที่มี 37 คะแนน ห่างกันอยู่ 16 แต้ม ทีมทอฟฟี่สีน้ำเงินก็จะออกสตาร์ตด้วยการนำ 2-0 พอดิบพอดี ถ้านอริชยิงจบได้แค่ 2-2 ก็แพ้เพราะอันดับแย่กว่า
หรือถ้านอริชเตะกับไบรท์ตันอันดับ 15 ที่มี 29 แต้มก็ห่างกัน 8 ประตูพอดี เท่ากับตอนเริ่มเกมไบรท์ตันเจ้าถิ่นจะมีสกอร์นำ 1-0 ถ้าจบเกมไม่แพ้เสียอย่างก็จะได้รับการชูมือ
อันนี้ผมคิดตามสูตรของผมเอง อาจจะละเอียดจนน่าปวดหัวแต่มันน่าจะยุติธรรมที่สุดแล้วในกรณีที่พรีเมียร์ลีกกลับมาเตะให้จบ 38 นัดไม่ได้จริงๆ
ทว่ากับเกมลูกหนังนั้นต้องเข้าใจว่าบางครั้งเราก็ไม่สามารถนำทางออกที่ยุติธรรมที่สุดมาใช้ได้จริงๆ หรอกด้วยการติดขัดปัญหาซับซ้อน
อาจจะด้วยเงื่อนเวลา อาจจะด้วยความยุ่งยากวุ่นวาย อาจจะด้วยนโยบายจากฝ่ายที่ใหญ่กว่า เช่นคำสั่งจากรัฐบาล

ผมคิดว่าเวลานี้พรีเมียร์ลีกมีทางออกที่เตรียมเอาไว้คร่าวๆ แล้วในกรณีที่ฤดูกาล 2019/20 ไม่สามารถแข่งจบได้จริงๆ
เรื่องโมฆะรูดทุกอย่างกลับไปเป็นศูนย์คงไม่เกิดขึ้นหรอกครับ มันคงมีสูตรอะไรที่นำออกมาใช้ เดี๋ยววันศุกร์นี้สโมสรในพรีเมียร์ลีกจะมีการประชุมกันอีกรอบ
แต่ถ้าสังเกตดูเราก็จะเห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป ความสามารถในการรับมือกับเงื่อนไขที่ไม่เป็นใจของพวกเราเองก็เริ่มแข็งแรงขึ้น
จากที่เคยหงุดหงิดอยากให้ฤดูกาลเตะกันให้จบให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็เริ่มเข้าใจในความยุ่งยากและสถานการณ์อันซับซ้อน ตัดสินใจลำบาก
หลายคนเริ่มเบื่อหน่ายกับการรอคอย และเริ่มทำยอมรับได้ถ้าฤดูกาลจะจบลงตรงนี้ ไม่มีแข่งต่อ
ก็ได้นะ แต่ขอให้มีบทสรุปในตำแหน่งต่างๆ ออกมาให้ได้ก็แล้วกัน
เมื่อทุกอย่างเริ่มตกตะกอน เราก็จะเริ่มเข้าใจมากขึ้น
ไม่มีใครอยากเตะไม่จบหรอกครับ การแสดงเหตุผลของหลายคนที่ผ่านมาก็คงไม่ได้มีเหตุผลซ่อนเร้นใดๆ หากเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว
ส่วนเราเองก็คงต้องเป็นผู้สังเกตการณ์กันไปอย่างนี้ รอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น และแต่ละลีกเตรียมหาทางออกกันอย่างไรต่อไป..
คลิกเลย >>> ข่าวบอล
คลิกเลย >>> https://www.claudiofrancabjj-watsonville.com/